Monday, September 1, 2014

โลภมูลจิต


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ - ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก


  
โลภะ(ความโลภ)
  
โลภะ(ความโลภ) คือ การคิด ความยินดี พอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
และอารมณ์ทางใจ โลภะเป็นอกุศล เกิดขึ้นกับโลภมูลจิต ๘ ดวง
และดวงที่ทำให้เกิดโทษมากคือดวงที่ ๑ ประกอบด้วย โสมนัสเวทนา + มีความเห็นผิด + เกิดขึ้นเอง(อสังขาริก)

 และดวงที่มีโทษน้อยคือดวงที่ ๘ ประกอบด้วย อุเบกขาเวทนา(รู้สึกเฉย ๆ) ไม่มีความเห็นผิด มีการชักจูง(สสังขาริก) ผู้ที่มักมากในกามราคะใจมีแต่โลภะตายไปก็จะเกิดเป็นเปรต
โลภมูลจิต คือ จิตที่มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงทำให้พอใจติด
ข้องในอารมณ์ปรากฏ โลภมูลจิตมี ๘ ประเภท คือ ...
โลภมูลจิต ๘
โลภมูลจิต คือ จิตที่มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงทำให้พอใจติด
ข้องในอารมณ์ปรากฏ โลภมูลจิตมี ๘ ประเภท คือ ...

ดวงที่ ๑ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา (โสมนสฺสสหคตํ) ความรู้สึกดีใจเป็นสุข เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ) คือ มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วม
ด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง (อสงฺขาริกํ)

ดวงที่ ๒ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง (สสงฺขาริกํ)

ดวงที่ ๓ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิ-คตวิปฺปยุตฺตํ)
คือ ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๔ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็น
จิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๖ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๗ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการชักจูง

ดวงที่ ๘ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง

สำหรับโลภมูลจิต 4 ดวงซึ่งประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นอสังขาริก 2 ดวง และเป็นสสังขาริก 2 ดวง
โลภมูลจิต 4 ดวงซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นอสังขาริก 2 ดวง เป็นสสังขาริก 2 ดวง ฉะนั้นโลภมูลจิต 8 ดวง
จึงเป็น อสังขาริก 4 ดวง และเป็น สสังขาริก 4 ดวง
สำหรับโลภมูลจิต 4 ดวงซึ่งประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นอสังขาริก 2 ดวง และเป็นสสังขาริก 2 ดวง โลภมูลจิต 4 ดวงซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นอสังขาริก 2 ดวง เป็นสสังขาริก 2 ดวง ฉะนั้นโลภมูลจิต 8 ดวง จึงเป็น อสังขาริก 4 ดวง และเป็น สสังขาริก 4 ดวง

ตัวอย่างของโลภมูลจิตที่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิและเป็นสสังขาริก อุปมาว่า บุตรชายเศรฐีคนหนึ่งแต่งงานกับหญิงที่มีความเห็นผิด เขาจึงส้องเสพกับพวกที่มีความเห็นผิด ไม่ช้าเขาก็คล้อยตามและพอใจในความเห็นผิดนั้น

ตัวอย่างของโลภมูลจิตซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิและเป็นสสังขาริก เช่น คนที่ตอนแรกไม่ดื่มสุรา แต่เมื่อถูกชักชวนให้ดื่มตอนหลังก็มีความยินดีพอใจในการดื่ม

ตัวอย่างของโลภะมูลจิตซึ่งไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีอุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่อยากจะยืนหรืออยากจะหยิบจับอะไรๆ
เพราะธรรมดาเราไม่ได้รู้สึกว่าเป็นสุขที่ทำอย่างนั้น ขณะนั้นก็เป็นโลภะที่เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าโลภะเป็นเหตุให้
ทำสิ่งที่ธรรมดาที่สุดบ่อยๆในชีวิตประจำวัน



โลภมูลจิตดวงที่หนึ่งมีผลเป็นทุกข์มากกว่าโลภมูลจิตทุกดวง เพราะกระทำด้วยความยินดีมาก ทั้งมีความเห็นผิด เช่นเห็นว่าบาปบุญไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี เป็นต้น และเกิดขึ้นโดยลำพัง คือโดยไม่มีใครชักชวนให้กระทำ แต่ตั้งใจทำขึ้นมาด้วยตนเอง
เช่น ถ้าผู้ใดลักทรัพย์หรือ ฆ่าคน เพราะอยากได้ทรัพย์ด้วยจิตดวงนี้ บาปย่อมมีมากและรุนแรงมากกว่ากระทำด้วยโลภมูลจิตดวงอื่นๆ
ส่วนโลภมูลจิตอีก ๗ ดวงนั้นย่อมให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อนลดหลั่นกันลงไปตามลำดับ

นายดำเป็นผู้ที่มีความเห็นผิดว่า กฎแห่งกรรมเป็นเรื่องไร้สาระ วันหนึ่ง มีเพื่อนมาชวนไปขโมยเงิน
ในตู้รับบริจาคที่วัดแห่งหนึ่ง นายดำเห็นดีด้วย จึงไปงัดตู้รับบริจาคกับเพื่อน ด้วยความดีใจ เพราะมีเงินอยู่ในตู้ เป็นจำนวนมาก ขณะนั้น โลภมูลจิตดวงที่ ๒ ย่อมเกิดขึ้น เพื่อกระทำกรรมดังกล่าว เพราะโลภมูลจิตดวงที่ ๒  เป็นจิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดยมีการชักชวน

แหล่งที่มาทางธรรม :
แหล่งที่มารูปภาพ :

https://dhrammada.wordpress.com/2012/03/page/5/

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=23650&view=print


No comments:

Post a Comment